fbpx skip to Main Content
อาการท้องผูก

5 วิตามินช่วยต้านอาการท้องผูก

ท้องผูก เป็นอาการพบบ่อยมากประมาณ 12% ของประชากรทั้งโลก พบได้ในทุกอายุตั้ง แต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ ท้องผูก (Constipation) เป็นอาการ ไม่ใช่โรค ได้แก่ อาการไม่ถ่ายอุจจาระตามปกติ ซึ่งโดยคำนิยามทางการแพทย์ ท้องผูก หมายถึงความผิดปกติทั้งจำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระ ซึ่งต้องน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ลักษณะของอุจจาระต้องแห้ง แข็ง การขับถ่ายต้องใช้แรงเบ่งหรือใช้มือช่วยล้วง และภายหลังอุจจาระแล้วยังมีความรู้สึกว่าอุจจาระไม่สุด

ขับถ่าย

วันนี้มีเคล็ดลับการรักษาอาการท้องผูกด้วยวิตามินทั้ง 5 ชนิดมาฝากกันค่ะ

    1. Vitamin C
กลุ่มวิตามิน ซี เป็นวิตามินชนิดหนึ่งที่สามารถละลายในน้ำได้ อีกทั้งยังมีสรรพคุณครอบจักรวาล สำหรับวิตามินซีที่ไม่ได้ถูกดูดซึมจะเกิดปฏิกิริยาการดูมซึมภายในระบบทางเดินอาหารที่จะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในลำไส้ ทำให้อุจจาระมีความอ่อนตัว ไม่แข็ง และขับถ่ายได้ง่ายยิ่งขึ้น แต่การบริโภควิตามิน ซี มากเกินไปก็อาจทำให้อาการท้องผูกของคุณแย่ขึ้นได้เช่นเดียวกันค่ะ พ่วงด้วยอาการท้องร่วง ปวดท้อง และคลื่นไส้

National Institutes of Health (NIH) จึงได้แนะนำปริมาณวิตามิน ซี ที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย กล่าวคือ ในวัยผู้ใหญ่ควรบริโภควิตามิน ซี ที่ปริมาณ 2000 มิลลิกรัมต่อวัน และไม่ควรมากไปกว่านั้น สำหรับเด็กๆ อายุต่ำกว่า 18 ปี ควรบริโภควิตามิน ซี วันละ 400-1800 มิลลิกรัมขึ้นอยู่กับช่วงอายุของแต่ละคนนั่นเองค่ะ

ผลไม้มีวิตามินซี
    2. Vitamin B-5
มีการค้นคว้าวิจัยซึ่งตีพิมพ์ลงในวารสาร Acta Vitaminologica et Enzymologica พบว่าวิตามิน บี5 หรือมีอีกชื่อเรียกว่ากรดแพนโทเทนิก (Pantothenic acid) สามารถช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้ จากสารเด็กซ์แพนทีนอล (Dexpanthenol) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามิน B5 นั่นเอง โดยสารดังกล่าวนี้จะมีหน้าที่ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อที่หดตัวในระบบทางเดินอาหารให้ช่วยย่อยอาหารและลำเลียงอุจจาระไปที่ลำไส้
ในวัยผู้ใหญ่ควรได้รับวิตามิน บี5 5 มิลลิกรัมต่อวัน สุภาพสตรีมีครรภ์หรือกำลังอยู่ในช่วงให้นมบุตรควรบริโภค 7 มิลลิกรัมต่อวัน และเด็กๆ อายุต่ำกว่า 18 ปี ควรได้รับวิตามิน B5 1.7-5 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งอาหารที่เป็นแหล่งของวิตามิน B5 ก็มีให้เลือกมากมายทั้งปลาที่มีกรดไขมันสูง (ปลาเทราต์) เห็ดชิตาเกะ อะโวคาโด้ ไข่ เนื้อไก่ เมล็ดทานตะวันฯลฯ

    3. Folic acid
Folic acid หรือกรดโฟลิค มีอีกชื่อที่คุ้นเคยกันดีก็คือ วิตามิน บี9 นั่นเอง โดยกรดโฟลิคนี้จะมีส่วนช่วยสร้างกรดในการย่อยอาหาร หรือน้ำย่อยให้มากขึ้น เมื่อน้ำย่อยในกระเพาะอาหารมีมากขึ้น การทำงานของระบบย่อยอาหารก็จะมีประสิทธิภาพการขับถ่ายก็จะเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นด้วยเช่นกันค่ะ ถ้าหากมีเวลาในการเตรียมอาหารหรือเลือกรับประทานอาหารที่มีกรดโฟลิคดำรงอยู่ก็จะดีกว่าการรับประทานอาหารเสริมเป็นอย่างมากเลยทีเดียวค่ะ เพราะอาหารเหล่านี้จะอุดมไปด้วยเส้นใยอาหารที่เป็นมิตรต่อลำไส้และระบบย่อยอาหาร ไม่ว่าจะเป็น ผักโขม บล็อกโคลี อะโวคาโด้ กล้วย สับปะรด ข้าวกล้อง จมูกข้าวสาลี ถั่วชนิดต่างๆ ตับ เนื้อไก่อก เนื้อหมูสันใน เป็นต้นค่ะ ปริมาณโฟลิคที่แนะนำสำหรับผู้ใหญ่คือ 1000 ไมโครกรัม สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี คือ 300-800 ไมโครกรัมต่อวัน

บร็อคโคลี่

กล้วย

ถั่ว

อะโวคาโด้

   4. Vitamin B-12
การขาดแคลนวิตามิน B12 เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก ร่างกายจึงควรได้รับสารอาหารประเภทดังกล่าวนี้ให้เพียงพอเพื่อช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย และนอกจากผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่จะช่วยให้เราได้รับวิตามินอย่างเพียงพอแล้ว ยังมีอาหารอีกหลากชนิดที่อุดมไปด้วยวิตามิน B12 อาทิเช่น ตับวัว ปลาแซลมอน ปลาเทราต์ และปลาทูน่า เป็นต้น

    5. Vitamin B-1
วิตามิน B1 เป็นอีกหนึ่งวิตามินที่มีส่วนช่วยในการย่อยอาหาร หากระบบย่อยอาหารทำงานได้ช้าลงก็อาจก่อให้เกิดอาการท้องผูกได้ กลุ่มอาหารที่เป็นแหล่งของวิตามิน B1 ก็มีมากมายให้เราได้เลือกสรรรับประทานทั้งกลุ่มธัญพืชอย่าง ข้าวกล้อง เมล็ดทานตะวัน แมคคาเดเมีย ถั่วลันเตา ถั่วแระ ถั่วเหลือง งาดำ กลุ่มเนื้อสัตว์เช่น เนื้อหมู ปลาเทราต์ และกลุ่มพืชผักเช่น ผักโขม หน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น ในกลุ่มผู้ใหญ่ก็ควรได้รับวิตามินชนิดนี้ 1.1-1.2 มิลลิกรัม และเด็กๆ อายุต่ำกว่า 18 ปีควรได้รับ 0.5-1 มิลลิกรัม

แม้อาการท้องผูกจะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่การรักษาสุขอนามัยของอวัยวะในร่างกายให้แข็งแรงและมีสุขภาพดีอยู่เสมอก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีไม่น้อยเลยทีเดียว เพียงหมั่นรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง ขับถ่ายให้เป็นเวลาและเลือกรับประทานอาหารที่ให้วิตามินตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น เพียงเท่านี้ สุขภาพของคุณก็จะดีขึ้นไม่มีโรคมาคอยกวนใจอีกต่อไป

 

ขอขอบคุณบทความจาก : women.thaiza.com

Back To Top